วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์


สแกนเนอร์ (scanner)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน หรือสแกนภาพ สแกนข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการแปลงข้อมูลแบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอล ด้วยการส่องแสงไปยังวัตถุหรือเอกสารที่ต้องการสแกน  จากนั้นแสงที่ส่องไปยังวัตถุจะสะท้อนกลับมาและถูกส่งผ่านไปที่ เซลล์ไวแสง ซึ่งจะทำการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล  ภาพหรือวัตถุที่ได้จากการสแกนก็จะอยู่ในฟอร์แมตของไฟล์รูปภาพ เช่น jpg, bmp

ประโยชน์  Scanner นั้นเป็น raster-input device และ จับรูป/ภาพ หรือเอกสารและจะแตกเป็นข้อมูลเป็นข้อมูลย่อยที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและจัดการในรูปแบบต่างๆได้ รูปต่างๆสามารถที่จะปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพเช่น Photo Impact และในแบบเดียวกันกับ เอกสารที่ถูกสแกน เอกสารจะสามารถที่จะโดน convert เป็น editable text โดยใช้ Optical Character Recognition (OCR) software ได้

เครื่องปริ้นเตอร์   เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานรวมกับคอมพิวเตอร์  โดยการรับคำสั่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปเอกสารเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป  คือ  เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์  เนื่องจากสามารถพิมพ์เอกสารได้ในปริมาณมาก ๆ ด้วยความเร็วสูง  และมีต้นทุนการพิมพ์แต่ละแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่น  การพิมพ์จะต้องพิมพ์ลงกระดาษเพื่อเป็นลายลักษณ์อักษร

ประโยชน์  พิมพ์เอกสารด้วยการรับคำสั่งการพิมพ์ในรูปแบบข้อความ รูปภาพอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์สู่เครื่องปริ้นเตอร์ถูกพิมพ์ลงภายในกระดาษ
2.Copy การถ่ายเอกสารด้วยเครื่องปริ้นเตอร์ เช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร
3.Scan คือการนำเข้าเอกสารที่เป็นข้อความหรือรูปภาพที่อยู่ในแผ่นกระดาษเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นไฟล์ PDFซึ่งเป็นรูปแบบการจัดเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน
4.Fax รับ-ส่งแฟกซ์ หรือโทรสาร โดยการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์บ้าน
จะเห็นว่า 1 ใน 4 ของความสามารถของเครื่องปริ้นเตอร์นี้ ต้องมีสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อบุคคลหนึ่งไม่มากก็น้อย แต่ผลเสียของงานการพิมพ์คือมีมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

MONITER
ประเภทของจอคอมพิวเตอร์ในแบบต่างๆ
   การที่เราจะพิจารณาเลือกซื้อจอเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นั้น เราจำเป็นต้องรู้จักพื้นฐาน
การทำงานของจอแต่ละแบบกันก่อน ซึ่งการทำงานนั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภทเป็นหลัก
นั้นก็คือ แบบที่ใช้หลอดภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับ ผลึก LCD
Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) การทำงานของจอคอมพิวเตอร์ในแบบต่างๆ มีดังนี้

1. จอคอมพิวเตอร์แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้น ย่อมาจาก Cathode
Ray Tube ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดย
การยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบ
อยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมาเมื่อมีอิเล็กตรอนมา
กระทบ
   ในส่วนของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนด
ให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า
Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม
โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียก
ว่า Triad
   ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ไม่ได้ใช้โลหะ
เป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตก
กระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอTrinitron ใน
ปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron
(Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้ง
ราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย

2. จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) หรือ Liquid Crystal
Display
 ซึ่งการทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) แม้สัก
นิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความ
ร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้อง
การ ซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานของแต่ละบริษัท จึงทำให้จอแบบ
LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT Monitor อยู่มาก อีกทั้งยัง
กินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ (โน้ตบุ๊ค
และเดสโน้ต) ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการ
ใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD Monitor นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่ว
ไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของราคาในปัจจุบัน

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1.จงบอกประเภทของสารสนเทศว่ามีกี่ข้ออะไรบ้าง
ตอบ 4ข้อ 1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3.      ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ  การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4.     ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
                 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด


2.จงบอกลักษณะ ข้อดีข้อเสีย ข้อแตกต่างของ EIS กับ GDSS
ตอบ EIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล
        GDSS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

GDSSมีผู้นำเข้าข้อมูลในระบบและผู้ร่วมตัดสินใจหลายคนทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจมีคุณภาพมากกว่า EIS